โปรแกรมวิจัยทางฟิสิกส์เพื่อสังคมและการแพทย์

บทนำ

ปัจจุบันประเทศไทยในยุค 4.0 จำเป็นต้องพึ่งพานวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ในฐานะที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในด้านการดูแลสุขภาพ และการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนด้านงานวิจัยและพัฒนา โปรแกรมวิจัยทางฟิสิกส์เพื่อสังคมและการแพทย์จึงมุ่งพัฒนางานวิจัยทางฟิสิกส์ในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสุขภาวะ (Health) ของสังคม คุณภาพชีวิต (Well-being) ของประชากร รวมถึงการปลอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และจากโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนั้นยังช่วยเตรียมความพร้อมเพื่อการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศอย่างเต็มรูปแบบในเวลาอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า

โปรแกรมวิจัยทางฟิสิกส์เพื่อสังคมและการแพทย์ประกอบด้วยโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ระหว่างปีพ.ศ. 2560-2562 จำนวน 4 โครงการวิจัย ได้แก่

โครงการวิจัย 1: การใช้พลาสมาเย็นความดันบรรยากาศบำบัดแผลติดเชื้อดื้อยา

โครงการวิจัย 2: การพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาไพโรไลซิส-แก๊สซิฟิเคชันสาหรับกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตรายจากโรงพยาบาล

โครงการวิจัย 3: วิธีเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาวิธีตรวจวัดแอนติเจนโดยอาศัยอนุภาคไมโครและนาโน แบบจำลองการแพร่กระจายโรคติดเชื้อ และแบบจำลองการดื้อยาปฏิชีวนะ

โครงการวิจัย 4: ฟิสิกส์ชีวภาพของการรู้จำและการนำส่งโมเลกุลเพื่อนวัตกรรมทางการแพทย์

ถึงแม้ว่าโปรแกรมวิจัยทางฟิสิกส์เพื่อสังคมและการแพทย์จะครอบคลุมขอบเขตงานวิจัยค่อนข้างกว้าง แต่ทุกโครงการวิจัยจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งอาจแบ่งโครงการวิจัยออกเป็นกลุ่มตามลักษณะเป้าหมายในการประยุกต์ใช้ดังนี้