โทรศัพท์
(053) 942 650-3
(053) 942 650-3
ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2551-2555)
การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ในระยะที่ 1 และระยะเปลี่ยนผ่าน (พ.ศ. 2556-2558) เป็นการดำเนินงานโครงการวิจัยแบบ discipline based ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของห้องปฎิบัติการวิจัย ประกอบด้วย 5 คลัสเตอร์ ได้แก่
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านฟิสิกส์ที่มีความรู้ความสามารถระดับสากล สร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมโดยรวม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ในการดำเนินงานระยะที่ 1 ดังนี้
วิสัยทัศน์
เป็นเลิศทางการวิจัยและบัณฑิตศึกษาทางฟิสิกส์ในภูมิภาคอุษาคเนย์
พันธกิจ
เป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์
ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2559-2563)
การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ระยะที่ 2 จะให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การผลิตผลงานวิจัยและนักวิจัยฟิสิกส์ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 1
โดยเน้นการผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ (economic impact) ได้แก่ ผลกระทบเชิงวิชาการ (academic impact) ผลกระทบเชิงสังคม (social impact)
และผลกระทบเชิงอุตสาหกรรม (industrial impact) ในลักษณะ demand-driven คือ การนำความต้องการวิจัยของประเทศเป็นกรอบดำเนินการ งานวิจัยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ
ตลอดจนมุ่งเน้นที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานวิจัยที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไปเป็น Creative Economy อย่างแท้จริง โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ระยะที่ 2 ดังนี้
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ชั้นนำในอาเซียนเพื่อเป็นกุญแจดอกสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
พันธกิจ
เป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนและนักวิจัยฟิสิกส์
เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ที่มีคุณภาพและนักวิจัยฟิสิกส์ที่เข้มแข็ง เพื่อตอบสนองการยกระดับการพัฒนาประเทศจากการเน้นการใช้แรงงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองเป็นหลักไปสู่การใช้องค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก
ยุทธศาสตร์การผลิตงานวิจัยและพัฒนา
ให้สามารถตอบสนองความต้องการทางวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งด้านภาคการผลิตและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนวัตกรรมฐานฟิสิกส์เพื่อการพัฒนาประเทศ
ให้ความสำคัญกับการนำผลงานวิจัยที่ผ่านมาไปใช้ประโยชน์ผ่านระบบบ่มเพาะ ตั้งแต่การสร้างต้นแบบจนถึงการใช้งานจริง โดยเน้นการสร้างเครือข่ายกับภาคการผลิตและบริการ เพื่อให้เกิดงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครื่องมือวิจัยกลางด้านฟิสิกส์
เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการวิจัยและให้บริการ โดยพัฒนาและติดตั้งเครื่องมือวิจัยกลางขนาดใหญ่ให้สามารถทำงานวิจัยเปิดแดน (frontier research) และพัฒนาเทคโนโลยีแนวหน้า (cutting-edge technology) ได้ เพื่อให้สอดรับกับการเป็น Creative Economy ของประเทศ
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ : 31 | เมื่อวานนี้ : 70 | ทั้งหมด : 15823
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมด