You are currently viewing การประชุมประจำปี 2565 ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์

การประชุมประจำปี 2565 ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์

ระหว่างวันที่ 22 – 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ โรงแรม The Greenery Resort Khao Yai จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ได้จัดประชุมประจำปี 2565 ขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างนักฟิสิกส์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างกัน ก่อเกิดความร่วมมือในการใช้ S&T ช่วยเสริมแกร่งและพัฒนาความเข้มแข็งของฟิสิกส์และของเศรษฐกิจฐานความรู้ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมในวันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 ในการประชุมประกอบด้วย

  1. การรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้โปรแกรมวิจัยนวัตกรรมของระบบทำความเย็นด้วยแม่เหล็ก (Innovation of Magnetic Cooling System) มีทั้งสิ้น 4 โครงการวิจัย คือ 1) โครงการวิจัยการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและ นวัตกรรมระบบทำความเย็นเชิงแม่เหล็ก โดย รศ. ดร.กิตติวิทย์ มาแทน สังกัดมหาวิทย่ลัยมหิดล และ รศ. ดร.ราชธีร์ เตชไพศาลเจริญกิจ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้รายงาน 2) โครงการวิจัยการศึกษาวัสดุแมกนีโตแคลอริคและการประยุกต์สำหรับเครื่องทำความเย็นแม่เหล็ก โดย รศ. ดร.พงศกร จันทรัตน์ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้รายงาน 3) โครงการวิจัยการประยุกต์แม่เหล็กปราศจากธาตุแรร์เอิร์ทในตู้เย็นแม่เหล็ก โดย รศ. ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล สังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้รายงาน 4) โครงการวิจัยการพัฒนาและการประยุกต์ใช้แม่เหล็กถาวรจากวัสดุต้นทุนต่ำ โดย รศ. ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นผู้รายงาน
  2. การรายงานสรุปการดำเนินงานโครงการGlobal Partnership เรื่อง “การพัฒนาห้องปฏิบัติการเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดและสถานีทดลองขั้นสูงสาหรับการวิจัยระดับแนวหน้าและการประยุกต์ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยเดซี” โดย ผศ. ดร.สาคร ริมแจ่ม สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้รายงาน
  3. การรายงานสรุปการดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์และควอนตัมเทคโนโลยีฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) เรื่อง“Geophysical and Financial Applications of Quantum Computation” โดย ดร.ณัฐวุฒิ กองสุวรรณ สังกัดควอนตัมเทคโนโลยีฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) เป็นผู้รายงาน และ“การพัฒนาเทคโนโลยีออฟติไมเซชั่นเชิงควอนตัมและการนำไปใช้ในภาคเอกชน” โดย ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ สังกัดควอนตัมเทคโนโลยีฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) เป็นผู้รายงาน

ซึ่งมีนักวิจัย นักศึกษา ผู้ที่สนใจ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก และคณะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานวิจัยเข้าร่วมรับฟัง ประมาณ 40 คน

ต่อมาในวันพฤหัสที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ได้จัดให้มีการระดมความคิดในประเด็นทิศทางการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ภายใต้ “ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS) โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง สังกัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งภายในกิจกรรมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับลักษณะการดำเนินงาน ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ภายใต้ “ธัชวิทย์”  ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมระดมความคิดประมาณ 30 คน

แชร์เลย :