You are currently viewing ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและหารือด้านการวิจัยและการพัฒนากำลังคน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University – NTU) และศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (Centre for Quantum Technologies, National University of Singapore – NUS) สาธารณรัฐสิงคโปร์

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและหารือด้านการวิจัยและการพัฒนากำลังคน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University – NTU) และศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (Centre for Quantum Technologies, National University of Singapore – NUS) สาธารณรัฐสิงคโปร์

ระหว่างวันที่ 12-15 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยจากภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชา วัชระภาสร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤพนธ์ ฉัตราภิบาล และ อาจารย์ ดร.นิธิวดี ไทยเจริญ และ ดร.สุรักษ์ อุดมสม จาก สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ปริญญา อุดมใหม่ สำนักงานบริหารงานวิจัยและหน่วยวิจัยควอนตัม ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายณัฐนันท์ ธนสัญชัย นักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและหารือด้านการวิจัยและการพัฒนากำลังคน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University – NTU) และศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (Centre for Quantum Technologies, National University of Singapore – NUS) สาธารณรัฐสิงคโปร์  โดยเข้าพบ Assoc.Prof. Rainer Helmut Dumke หัวหน้าห้องวิจัย Atomic and Superconducting Quantum Devices ณ School of Physical & Mathematical Sciences – Division of Physics & Applied Physics มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง เพื่อหารือความร่วมมือด้านงานวิจัยและการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิจัย เพื่อส่งเสริมงานวิจัยด้าน superconducting qubits and circuits, atomic quantum sensors (e.g. gravimeter and magnetometer), atomtronics และ hybrid quantum systems

ทั้งนี้ โครงการ Undergraduate Internship Program ของ Nanyang Technological University ได้มีการคัดเลือกนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญา ให้เข้าร่วมทำงานวิจัยที่ห้องปฏิบัติการวิจัยเป็นระยะเวลาสามถึงสี่เดือน โดยมีนักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ นายณรงค์ฤทธิ์ เพียรศิลป์ และ นายศุภวิชญ์ สังข์ทอง นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาฟิสิกส์ โดยมี อ.ดร.นิธิวิดี ไทยเจริญ และ ผศ.ดร.นฤพนธ์ ฉัตราภิบาล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยนักศึกษาได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาและนักวิจัยในห้องปฏิบัติการของ Assoc.Prof.Dr. Rainer Dumke  ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2567

โดยคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชม Quantum Science and Engineering Centre (QSEC), Nanyang Technological University โดยมี Prof. Leong Chuan Kwek จาก National Institute of Education and School of Electrical & Electronic Engineering, Nanyang Technological University และ Principal Investigator of Centre for Quantum Technologies, National University of Singapore  ให้การต้อนรับ โดยทีมนักวิจัยได้ร่วมกันอภิปรายงานวิจัยด้าน Photonics, Quantum Key Distribution (QKD) and Chip Design & Fabrication และเข้าพบ Dean, College of Science, Prof. Simon Redfern; Assistant Dean (International Engagement), College of Science, Assoc. Prof. Guillaume Thibault; Chair, School of Physical & Mathematical Sciences, Prof. Phan Anh Tuan เพื่อหารือด้านการวิจัยและการพัฒนากำลังคนที่จะนำไปสู่ความร่วมมือที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของประเทศไทยให้สูงสุดต่อไป

จากนั้นคณะฯ ได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยด้าน Atomic Clock and Metrology  ของ Prof. Murray Barrett ณ Centre for Quantum Technologies, National University of Singapore โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาเอก นายนครินทร์ จายโจง และตัวแทนกลุ่มวิจัยให้การต้อนรับ

และเข้าเยี่ยมชม Superconducting Quantum Computer ณ National Quantum Computing Hub (NQCH), Singapore ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ Centre for Quantum Technologies, National University of Singapore, โดย NQCH เป็นความร่วมมือระหว่าง Centre for Quantum Technologies (CQT) at the National University of Singapore, Institute of High Performance Computing (IHPC) at the Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) และ National Supercomputing Centre (NSCC) Singapore

แชร์เลย :